การติดตั้งจานดาวเทียม
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียมแบบมูฟ ( Dmove ) article

ขั้นตอนที่ศึกษารายละเอียด ได้จากการติดตั้งจานฟิกส์ มีดังนี้

1.       การหาทำเลพื้นที่ติดตั้ง

2.       การติดตั้งเสาจาน

3.       การประกอบตะแกรงจาน

ขั้นตอนการติดตั้งที่แตกต่างจากรายละเอียดการติดตั้งจานฟิกส์มีดังนี้

1.       การประกอบคอจาน

2.       การประกอบแขนฟิดฮอร์น ( Feed Horn )

3.       การประกอบคอจานกับตะแกรงจาน

4.       การประกอบ LNB

5.       การปรับ LNB

6.       การปรับมุมส่ายของหน้าจาน

7.       การเก็บสายนำสัญญาณที่จานให้เรียบร้อย

                โดยในการติดตั้งจาน Dmove , Dmove_Plus นี้ จะอธิบายเฉพาะรายละเอียดของขั้นตอนที่ต่างไปจากการติดตั้งจานแบบฟิกส์

การประกอบคอจาน

1.       เมื่อนำคอจานมูฟออกจากกล่อง ให้นำไปประกอบส่วนต่าง ๆ ของคอจานให้ครบและขันน็อตให้เรียบร้อยก่อนนำสวมเสาจาน  เพื่อสะดวกในการติดตั้งจานในที่สูงโดยทำการประกอบน็อตก้มเงย ดังรูป ในการใส่น็อตต้องรองแหวนน็อตทุกครั้งเพื่อช่วยยึดให้แน่นยิ่งขึ้น การประกอบก้อเงยยังไม่ต้องทำการยึดให้แน่น เพราะต้องทำขั้นตอนการปรับองศาก้มเงยต่อไป

2.       การประกอบบาร์แอคทูเอเตอร์ หรือบาร์จับมอเตอร์มีจำนวน 2 ชิ้นใน 1 ชุด คือบาร์สั้น และบาร์ยาว ในการประกอบให้หันแนวของน็อตก้มเงยมาที่ตัวเราก่อนจากนั้นนำบาร์ยาวไปประกอบคอจานดังรูป ซึ่งให้สังเกตุว่ามีรูยึดน็อตรองรับไว้พอดี ให้บาร์สั้นอยู่ทางด้านขวาของเราจากนั้นประกอบบาร์สั้น ซึ่งก็มีรูที่คอจานรองรับไว้ที่ด้านล่างของคอ ในขั้นตอนการประกอบบาร์นี้เราต้องนำประแจมาขันน็อตให้แน่นมาก ๆ เพื่อป้องกันอาการเกิดภาพกระตุก

3.       ยกนำคอจานสวมลงไปที่เสาจานไม่ต้องทำการยึดคอ จากนั้นนำฝามาปิดก้นจานออก  โดยประแจขัน น็อตออกมา

การประกอบแขนฟีดฮอร์น ( Feed Horn )

ในขั้นตอนของการประกอบแขนฟีดฮอร์นจาน ชุด Dmove จะเหมือนกับจานฟิกส์ แต่สำหรับการประกอบแขนฟีดของจานชุด Dmove_Plus  จะไม่เหมือนใคร โดยมีขั้นตอนดังนี้   

1.   นำแขนฟีดฮอร์นกับตัวจับฟีดมาประกอบกันให้แขนฟีดฮอร์น  อยู่ล่างสุด จากนั้นวางตัวจับฟีดทับ       ( วางให้รูน็อตตรงกัน )

2.         นำน็อตที่อยู่ในกล่อง LNB มาประกอบ โดยความยาวของน็อตจะสั้นกว่าน็อตประกอบจาน

3.         ทำการประกอบแขนฟีดฮอร์นที่เหลือให้หมด โดยทำวิธีเดียวกับขั้นตอนที่ 1

4.         เมื่อประน็อตทั้งหมดแล้วให้กางแขนฟีดฮอร์นออกเป็นเครื่องหมายคูณ จากนั้นใช้ประแจขันน็อตยึดให้แน่น

การประกอบตะแกรงจานกับคอจาน

          ชุดจาน Dmove ขั้นตอนของการประกอบตะแกรงจานกับคอจานมีดังนี้

1.       ยกจานมาประกอบกับคอจานโดยวางตะแกรงจานให้ตรงกับรูน็อตซึ่งมีอยู่ 4 รู ถ้าวางได้ตรงตำแหน่ง จะทำให้เราใส่น็อตยึดได้พอดีทั้ง 4 ตำแหน่ง

         ชุดจาน Dmove_Plus ขั้นตอนการประกอบจะแตกต่างไปจากชุด Dmove เนื่องจากตัวจับฟีดของ Dmove_Plus นอกจากจะมีตัวจับฟีด LNB C-Band ( ขนาดใหญ่ ) แล้วยังมีตัวจับฟีดของ LNB KU-Band ( ขนาดเล็ก ) อีกด้วยขั้นตอนมีดังนี้

1.       ในขณะที่ยกจานประกอบขึ้นเพื่อจะไปประกอบกับคอจาน  ต้องให้ตัวจับฟีด LNB KU ( ขนาดเล็ก ) ชี้ไปทางเดียวกับบาร์แอค หรือต้องการให้อยู่ทางทิศตะวันตก นั่นเอง

2.       เมื่อวางตะแกรงจานให้ตรงรูของแผ่นรองรับจานแล้วให้ใช้ประแจขันน็อตยึดให้แน่น

3.       ทำการปิดฝาก้นจานเพื่อยึดตะแกรงกับคอจานเพื่อเพิ่มความแน่นหนา

การประกอบ LNB รุ่น C1

                การประกอบ LNB ชุดจาน Dmove และ Dmove_plus คล้ายกัน จะต่างกันที่ ชุด Dmove มีการประกอบ LNB เพียงตัวเดียว คือ C1 สำหรับ Dmove_Plus ต้องทำการประกอบ LNB K1 เพิ่มอีกหนึ่งตัวดังนั้น  การประกอบ LNB C1 มีขั้นตอนประกอบที่เหมือนกันดังนี้

1.       ทำการเอียงหน้าจานไปด้านใดด้านนึง

2.       นำ LNB C1 สวมสอดใส่ที่ตัวจับฟีด โดยให้ก้นกระบอกเสมอกับขอบเหล็กด้านล่างสุดของตัวจับฟีด ดังรูป

           การประกอบ K1 เพิ่มสำหรับ Dmove_Plus ดังนี้

1.       ใช้ไขควงขันน็อตที่ตัวจับKU ทั้ง 2 ตัว ออก เพื่อนำส่วนมาประกอบของตัวจับฟีดออกมา

2.       นำ  LNB รุ่น  K1 มาประกอบแล้วทำประกบชิ้นส่วนของตัวจับฟีด ให้ใช้ไขควงขันน็อตให้พอแน่น

การปรับองศา  LNB

             การปรับ  LNB รุ่น C1 ของชุดจาน Dmove , Dmove_plus ให้สังเกต เลข  0 ที่อยู่ด้านบน   

LNB ต้องปรับใหชี้ไปทางทิศใต้โดยมีเทคนิคการปรับดังนี้

1.       ยกหน้าจานแหงนขึ้นชี้ฟ้า สังเกตุที่ขอบจานว่าตำแหน่งจานตรงไหนที่ตรงกับหน้ากระบอกไดเร็กชั่น แล้วทำการมารค์ตำแหน่งไว้

2.       เอียงหน้าจานลงมาเหมือน แล้วปรับเลข  0 ของ LNB โดยทำการหมุนให้เลข 0 ชี้ไปที่ขอบจาน ตำแหน่งที่ได้ทำการมาร์คไว้ ( นิกจากจะใช้สายตาเล็งแล้วเพื่อความแม่นยำ อาจใช้ไม้ที่เป็นเส้นตรงยาว ๆ หรือเชือกมาช่วยในการเล็งก็ได้ โดยให้ลากจากจุดมาร์คที่ขอบจาน มาพาดผ่านเส้นผ่านศูนย์กลางของ LNB ) และควรระวังความลึกของกระบอก LNB จะถูกปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่ทำการตั้งไว้ การปรับ LNB รุ่น K1 ของชุดจาน Dmove_Plus

สำหรับ LNB รุ่น K1 ต้องปรับเลข 0 ของ LNB K1 ให้ชี้เป็นแนวขนานกับเลข 0 ของ LNB K1 ให้ชี้เป็นแนวขนานกับ เลข 0 ของ LNB รุ่น C1 โดยเทคนิค การปรับดังนี้

1.       ใช้สิ่งของที่มีเส้นตรงสัก 2 ชิ้น แล้ววางที่ก้น LNB C1 ให้เส้นตรงผ่านเลข 0 และผ่านเส้นผ่าศูนย์กลางและถือไว้

2.       อีกหนึ่งชิ้นให้ทำกับ LNB K1 โดยทำวิธีเดียวกับข้อ 1 แล้วค่อยปรับหมุน K1 ให้เส้นตรง 2 เส้นขนานกัน

การต่อสายนำสัญญาณ LNBของชุดจาน Dmove_Plus กับมัลติสวิทซ์ 22 Khz มีดังต่อไปนี้

1.       ทำการตัดสายนำสัญญาณ จำนวน 2 เส้น ความยาวเส้นละ ประมาณ 20 ซม. และทำการเข้าแจ็ค F – Type ที่ปลายสาย ทั้ง 2 ด้านทั้ง จำนวน 2  เส้นให้เรียบร้อย

2.       เส้นหนึ่งนำมาต่อที่มัลติสวิทซ์ 22 Khz รุ่น Sw – C / KU ต่อเข้าอินพุต LNB-A ( 22 Khz ) และอีกเส้นต่อที่ LNB-B ( 0Khz ) ทำการหมุนเกลียวแจ๊คให้แน่นโดยใช้ประแจขัน

3.       นำสายนำสัญญาณที่ต่อจากอุปกรณ์มัลติสวิทซ์ ระบุว่า 0Khz ไปต่อที่  LNB C1 จากนั้นสายที่เหลือคือ 22 Khz นำไปต่อที่ LNB K1 ทำการหมุนเกลียว F – Type ให้แน่น โดยใช้ประแจ

4.       นำสายนำสัญญาณที่มาจากเครื่องรับสัญญาณ ( ยังไม่ทำการเข้าแจ็ค F-Type ) มาสอดเข้าที่รูของฐานหมวกที่โรงงานเตรียมไว้ให้ ( รูสายนำสัญญาณที่ทางโรงงานจัดเตรียมไว้จะมีขนาด ใกล้เคียงดับขนาดของสายนำสัญญาณเพื่อป้องกันสัตว์ตัวเล็ก ๆ เข้าไปอาศัยอยู่ )

5.       ทำการเข้าแจ็ค F-Type  ให้เรียบร้อย

6.       นำเทปพันละลายพันบริเวณรอยต่อทุกรอย เพื่อกันน้ำ

7.       ทำการสวมหมวกและยึดน็อตให้เรียบร้อย

8.       การเก็บสายนำสัญญาณ ถ้าเป็นการเก็บสายนำสัญญาณที่แขนฟีดฮอร์นให้ใช้เทปพันสายไฟ , เคเบิลไทน์ , สายรัดที่ทำจากลวด เลือกซื้อชนิดที่คุณภาพดี ทนแดด ทนฝน เพื่อไม่ต้องกลับมาซ่อมแซมภายหลัง ทำการพันให้เรียบร้อย

สำหรับการเก็บสายที่ตะแกรงจาน ต้องใช้ที่มีความแข็งเพื่อสามารถสอดไปที่ตะแกรงและรัดสายเก็บได้ ควรเดินสายนำสัญญาณตามรอยของก้านจาน

 การติดตั้งมอเตอร์ขับเคลื่อนจาน

                         มอเตอร์ ( Actuator ) ของPSI ที่อยู่ในกล่องนี้ได้มีการตั้งค่า East Limit / West Limit ให้เหมาะสมกับดาวเทียม  PAS10 ตำแหน่ง 68.5E ถึง APSTAR 1A ตำแหน่ง 134.0E ที่ใช้งานร่วมกับจานดาวเทียม PSI  รุ่น DMF 213M และ DMF 227 M โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.       สวมประกับทองเหลือง เข้ากับ แกนมอเตอร์ โดยมีระยะห่างจากขอบแกนประมาณ 12 ซม.

2.       ขันสกรูยึดประกับ ให้แน่น ( ต้องให้ตัวประกับทองเหลือง และตัวทุ่นมอเตอร์อยู่ด้านบน )

3.       การต่อสายไฟฟ้า รีซีฟเวอร์รุ่น DP303 กับมอเตอร์ขับเคลื่อนจานตรงตามสีที่ได้ต่อไว้แล้ว

4.       นำมอเตอร์มาติดตั้ง กับ คอจานมูฟทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งจะทำให้การติดตั้งง่ายและเร็วขึ้น

การปรับมุมส่าย

ในการปรับมุมส่ายของจานชุด Dmove , Dmove-Plus ต้องปรับหน้ากระบอก หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ ปรับหน้าจาน ” หันไปทางทิศใต้ โดยใช้ตัวเข็มทิศเป็นตัววัด เนื่องจากดาวเทียมอยู่ไกลจากโลกมาก ทำให้การปรับองศาในการรับสัญญาณดาวเทียมผิดเพี้ยนนิดหน่อยก็จะไม่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ หรือรับได้แต่ไม่ครบทุกดวง เทคนิคการเล็งทิศมีดังนี้

1.       ใช้เชือกผูกกับน็อตก้มเงย หรือหาเหล็ก อลูมิเนียมมาดัดแปลงให้เป็นตัวช่วยเล็งทิศดังในรูป และส่วนประกอบยึดกับคอจาน โดยให้อยู่เป็นแนวขนานกับหน้าจาน

2.       นำเข็มทิศมาวางไว้ที่ตัวช่วยเล็งทิศดังรูป เข็มทิสจะอยู่เป็นแนวเดียวับตัวช่วยเล็งทิศ

3.       ดูที่ตัวเข็มทิศว่าเข็มชี้ที่ทิศใต้หรือไม่ ถ้ายังให้หมุนหน้าจานและสังเกตที่เข็มทิศ จานเข็มชี้ทิศใต้แล้ว จึงทำการยึดโดยใช้ประแจแบบ สลับฟันปลา เพื่อป้องกันไม่ให้ตำแหน่งจานผิดตำแหน่ง

การปรับก้มเงย

1.       นำตัววัดมุมที่ได้ทำการคาริเบทแล้ว มาแปะไว้บนกระบอกไดเร็กชั่น  มาแปะไว้บนกระบอกไดเร็กชั่น

2.       แล้วทำการก้มหน้าจานหน้าได้ค่าตามต้องการ

3.       เมื่อได้ค่าที่ถูกต้องแล้วให้ทำการยึด ที่ตำแหน่งน็อตก้มเงยและ น็อตที่ตำแหน่งกลางกระบอกไดเร็ก

การโปรแกรมเครื่องเพื่อรับสัญญาณดาวเทียม รุ่น DFIX ( PR105 )

เมื่อทำการติดตั้งจานตรงตำแหน่งของดาวเทียมเรียบร้อยแล้ว มีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดเครื่อง ให้เครื่องพร้อมทำงาน
  2. กดปุ่มตัวเลข 1 เพื่อให้เครื่องเลือกลำดับช่องรายการที่ 1 ( ส่งสัญญาณตลอด 24 ชั่วโมง )
  3. กดปุ่ม " INFO " ที่รีโมท เพื่อแสดงรายละเอียดข้อมูลของช่องรายการที่ 1 ดังรูป
  4. ให้สังเกตุที่คำว่า Quality เมื่อเราทำการปรับหน้าจานตรงกับตำแหน่งของสัญญาณดาวเทียมแล้ว จะปรากฎแถบสี และเปอร์เซ็นขึ้น จะน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับ Transponder นั้นๆ มีความแรงในการส่งสัญญาณ มา ตกกระทบที่จาน ถ้ามากเปอร์เซ็นและแถบสีก็มาก หรือถ้าน้อย เปอร์เซ็นและแถบสีก็ปรากฎน้อย
  5. เมื่อเราปรับหน้าจานแบบละเอียด จนได้เปอร์เซ็นที่มากที่สุดแล้ว ให้ทำการยึดน็อตทุกตัวให้แน่น

 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม / แสดงความคิดเห็น

โทร. 02- 743 7006, 02- 747 9409, 01-642 2573, 09- 120 2573



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด





อุปกรณ์จานดาวเทียม article
ชุดจานดาวเทียม PSI article
Sat & DVD article
หน้าหลัก
Promotion Kenpro
Diagram IP Camera
Headline
ชุดติดตั้งระบบCCTV 16 ch
ชุดติดตั้งระบบCCTV 4 ch
ช่องรายการดาวเทียม NSS6
ช่องรายการดาวเทียม THAICOM 2/5
ชุด IPM จานดำ+จานส้ม
ชุด IPM จานดำ DUO
ชุดจานส้ม IPM
แก้ไขช่อง 3 เปลี่ยนความถี่ใหม่
การ์ดสมาชิกเคเบิ้ลทีวี
ตัวอ่านสมาร์การ์ด
กิจกรรม " รวมพลัง ต้อนรับปีใหม่ " article
กิจกรรม " วันรวมพลัง ฟอร์เวิร์ด " article
ขั้นตอนการทำ Manual OTA article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (3) article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (2) article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (1) article
การเพิ่มดาวเทียม LMI (KU-BAND) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (3) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (2) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (1) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (3) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (2) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (1) article
ตารางมุมก้มเงยจานมูฟ ประเทศไทย article
ตารางมุมก้มเงย / มุมกวาด ประเทศไทย article
มุมก้ม/มุมกวาดในกรุงเทพฯ article
การใช้ตัววัดมุมอย่างมืออาชีพ article
การใช้เข็มทิศอย่างมืออาชีพ article
แก้ไขช่อง 9 เปลี่ยนความถี่ใหม่ article
การเพิ่มความถี่ช่อง 5 เครื่อง Dynasat F1 article
การแก้ไขความถี่ช่อง 5 article
Note : การดานถามตอบ article
หัวรับสัญญาณดาวเทียม article
หน้าจานดาวเทียม article
ชุดจานดาวเทียม article
Note44 article
มุมก้มเงยและมุมชดเชยของจานมูฟ article
ดาวเทียม NSS 6 (KU-Band) article
OTA : Update - On - Air article
ST 1 ( Cable TV Channel ) article
Dynasat Set article
ชุดจานดาวเทียม article
ลักษณะขั้วคลื่น V/H และ L/R article
การใช้เครื่อง Dynasat Number 1mini article
แนะนำพนักงาน ฟอร์เวิร์ด แซทเทิลไลท์ article
ฟุตบอล article
I-SKY-NET article
Digital MMDS (TTV 16 ช่อง) article
Sat & VCD article
ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียม Duo C/KU-Band Dynasat article
ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียมแบบฟิกซ์ (C-Band Fix) article
เทคนิคการประยุกต์การติดตั้งจานดาวเทียม article
Note 4 article
Note 3 article
ความรู้พื้นฐานในการรับสัญญาณโทรทัศน์ article
ระบบเคเบิ้ลทีวี article
การติดตั้ง TRIO ( รับดาวเทียม Thaicom2/3, ST1 และ PAS10 ด้วยหน้าจานใบเดียว) article
การปรับมุมชดเชย หน้าจาน Dynasat article
ขั้นตอนในการปรับจานมูฟ article
การใช้ตัววัดมุมอย่างมืออาชีพ article
ผลทดสอบการรับสัญญาณดาวเทียม Agila KU article
การติดตั้ง LNBF EXTRA GAIN article
C-KU Duo Plate article
หัวรับสัญญาณดาวเทียม LNB/ เพลท LNB article
ตัวอย่างช่องรายการ ดาวเทียม Thaicom 2/3 article
การเพิ่มช่อง 3 ( Dmix ) article
C-KU Duo Plate article
ดาวเทียม TELSTAR 10 KU article
ช่องรายการ Dmove article
ช่องรายการศาสนา จากดาวเทียม C-Band article
ช่องรายการกีฬา จากดาวเทียมระบบ C-Band (ฟรีทีวี) article
ดาวเทียม MEASAT 1 article
ดาวเทียม THAICOM 2/3 KU article
ดาวเทียม THAICOM 2,3 article
การเพิ่มจุดรับชมจาน C-Band Fix article
แยกดูอิสระ ระบบจานดาวเทียม article
infra Sender article
Sat Connect article
กันขโมยไร้สาย article