ไม้กั้นทางเข้าออกอัตโนมัติ, ติดตั้งกล้องวงจรปิดราคาถูก CCTV DIGITAL TV,ติดตั้งจานดาวเทียมCCTV,เสาอากาศทีวีTV,ทีวีTVรวมในอพาร์ทเม้นท์ สำนักงาน,MATV,SMATV,CCTV,สัญญาณกันขโมย,วางระบบกล้องความปลอดภัย,SETBOX,ประตูคีย์การ์ด,สแกนลายนิ้วมือ,FINGLE SCAN,FACE SCAN
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียมแบบฟิกซ์ (C-Band Fix) article

การติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมมีขั้นตอนหลัก ๆ  ดังนี้

  1. การหาทำเลพื้นที่ติดตั้ง
  2. การติดตั้งเสาจาน
  3. การประกอบคอจาน
  4. การประกอบตะแกรงจาน
  5. การประกอบแขน Feed Horn
  6. การประกอบคอจานกับตะแกรงจาน
  7. การประกอบ LNB
  8. การปรับ LNB
  9. การเก็บสายนำสัญญาณที่  Feed Horn
  10. การปรับมุมส่ายของหน้าจาน
  11. การปรับก้มเงยของหน้าจาน
  12. การโปรแกรมเครื่องรีซีฟเวอร์ ให้รับภาพได้

ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียม Dfix , Dmix และดาวเทียม Dmix – Plus

การหาทำเลพื้นที่ติดตั้ง

        สาเหตุที่ต้องมีการหาทำเล  คือ  เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมาบดบังแนวการส่งสัญญาณจากดาวเทียม เช่น ตึก ต้นไม้ ภูเขา หรือวัสดุที่มีตัวนำไฟฟ้าเป็นส่วนผสม

        สำรวจพื้นที่โดยการใช้  แขน  ของเราช่วยในการหาทำเลที่ติดตั้ง  ทำมุมตามองศาค่าก้มเงยของหน้าจานตามพื้นที่ ๆ เช่น ที่พื้นที่กรุงเทพ ฯ มีค่าก้มเงยสำหรับจานฟิกส์ ประมาณ 29.5 องศา

 การติดตั้งเสาจาน
  1. เนื่องจากทางโรงงานได้บรรจุแขน  Feed Horn ไว้ในเสาและทำการปิดฝาพลาสติกหลุดออกมา
  2. นำเสาและปากกาเคมีมาทำการมาร์คเสาเพื่อจะทำการเจาะปูน
  3. ใช้สว่านเจาะปูนให้ได้ความลึกพอดีกับความยาวของพุก
  4. ประกอบพุกให้ถูกต้องโดยนำน็อตตัวผู้สวมแหวนก่อนแล้วจึงใช้มือหมุนน็อตเข้าไปที่ตัวพุกจนสุดเกลียว
  5. นำพุกวางไว้ในหลุมที่เราเจาะ แล้วนำค้อนมาตอกพุกให้แหวนของน็อตเสมอกับปากหลุม ทั้ง 3 หลุม
  6. คลายเกลียวนำน็อตตัวผู้ออกมาทั้ง 3 อัน เพื่อทำการประกอบเสา
  7. นำตัววัดมุมมาแปไว้ที่ปลายเสาดังรูป และสังเกตที่เข็มใหชี้ที่ตัวเลข 90 องศา
  8. ถ้าลูกศรยังไม่ไปชี้ที่ตัวเลข 90 ให้คลายน็อตที่ยึดแน่นแล้วนำแหวนรองน็อต มาสอดไว้ที่ใต้ฐานเสาใกล้กับน็อตข้างใดข้างหนึ่งจนตัววัดมุมอ่านค่าได้ 90 พอดีทั้ง 4 ด้าน ทำการยึดน็อตให้แน่น
  9. ทำการประกอบขาค้ำเสา โดยอุปกรณ์จะอยู่ในกล่องคอจาน
  10. เมื่อประกอบขาค้ำเสาแล้วให้นำสวมลงเสา
  11. กางขาค้ำออกโดยให้ห่างจากผิวเสา ถึงรูที่ยึดน็อต

        จานขนาด 213 / 227 = 20 cm.

      จานขนาด  227 MOVE = 32 cm

การประกอบคอจาน

  1. นำคอจานและแผ่นเพลทรองรับตะแกรงจานจากกล่องมาประกอบกัน โดยให้ห่วงแคมป์รัดเสาอยู่ทางเดียวกันกับช่อ
  2. ขยับรูน็อตทั้ง 2 ชิ้นให้ตรงกันทั้งบนและล่างจากนั้นยึดน็อตพอแน่น
  3. นำคอจานที่ประกอบเสร็จแล้วไปสวมลงเสา
  4. นำฝาปิดก้นจานออก โดยใช้มือหมุนน็อตออก
  5. ยึดน็อตที่ห่วงแคมป์พอแน่น เพื่อไม่ให้คอส่ายไปมาได้ทำให้ยากต่อการประกอบตะแกรงจาน

การประกอบตะแกรงจาน

ตะแกรงจานเมื่อแกะออกจานกล่องจะมีทั้งหมด 4 ชั้นให้นำ 2 ชิ้นมาประกอบกันก่อน ดังนี้

  1. ตะแกรงจะมีแนวตรง 2 ด้าน ด้านหนึ่งให้ตั้งพื้น อีกด้านหนึ่งนำมาชนกัน ให้รูน็อตอยู่ตำแหน่งที่ตรงกันแล้วจึงสวมน็อตและใช้ประแจขันน็อตยึดให้แน่น ( ยกเว้นรูน็อตที่อยู่ด้านในสุด ไม่ต้องยึดน็อตเว้นไว้ เพื่อนำไปประกอบคอจาน )
  2. เมื่อทำการประกอบเป็นครึ่งวงกลมได้ 2 ชิ้น แล้วให้นำไปคว่ำและประกบกัน จากนั้นทำการยึดน็อตให้แน่น ( ยกเว้นรูน็อตที่อยู่ด้านในสุด ไม่ต้องยึดน็อตเว้นไว้เพื่อนำไปประกอบกับคอจาน )

 การประกอบแขนฟิดฮอร์น
  1. นำฐานหมวกวางด้านบนของแขนยึดฟีดให้รูน็อตอยู่ตรงกัน
  2. จากนั้นนำแขนฟีด มาประกอบด้านล่างของตัวยึดฟีดวางให้ตรงรูน็อต
  3. ทำการยึดน็อตพอแน่น และทำการประกอบแขนฟีดให้ครบทั้ง 4 อัน
  4. กางแขนฟีดให้เป็นเครื่องหมายบวก หรือ กากบาท จากนั้นใช้ประแจขันน็อตให้แน่น
  5. นำปลายก้านฟีดฮอร์นอีกด้านที่มีรูสไลด์ มาประกอบ เข้ากับขอบจานดาวเทียม
การประกอบตะแกรงจานกับคอจาน
  1. ยกตะแกรงจานขึ้นประกอบกับคอจาน โดยวางให้พอดีกับรูน็อต
  2. ใช้ประแจยึดน็อตให้แน่นทั้ง 4 ตำแหน่ง
  3. ทำการก้มจานลงมา จนขอบจานค้ำอยู่ที่เสาเพื่อให้ง่ายกับการประกอบ LNB

การประกอบ LNB รุ่น C1

      ขอแนะนำวิธีการประกอบ LNB จานชุด Dfix , Dmix , Dmix – Plus , การประกอบ LNB ชุด Dfix กับชุด Dmix ใช้ LNB รุ่นเดียวกัน คือ C1

         สำหรับ LNB ที่ใช้ในชุด Dmix – Plus เป็นรุ่น CKU โดยมีวิธีดังนี้

  1. นำ LNB สอดไปที่ตัวยึดฟีดโดยให้ขอบฝา LNB เสมอ กับขอบเหล็กด้านล่างตัวยึดฟีด ( ชิ้นที่ยาวที่สุด ) หรือลึกลงไปไม่เกิน 1 เซนติเมตร
  2. ปรับเลข 0 หรือลูกศร ของ LNB ไปที่ตำแหน่งทิศใต้ แต่เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้ง เราจึงกำหนดรับ สัญญาณดาวเทียม Thaicom 2 & 3 อยู่ตำแหน่งที่  4 นาฬิกา เมื่อปรับได้แล้วใช้ไขควงปาก 4 แฉก ขันน็อตยึดให้แน่น

การปอกสายนำสัญญาณ RG-6

       การปอกสายนำสัญญาณ  RG-6 ให้ปอกแจ็กแก็ตที่หุ้มด้านนอกออกความยาวของแจ็คเก็ตประมาณ 1.5 cm ไม่ต้องตัดซีลด์ออก ใหผลักซีลด์ไปด้านหลังทั้งหมด ปอกโฟมออกให้โฟมมีความยาว 0.5 cm ก็เหลือแต่ลวดทองแดงยาว 1 เซนติเมตร จากนั้นให้สวมแจ็ค F-Type เข้าไปโดยหมุนตามเกลียวเข้าไปทับกับซีลด์ หมุนเข้าไปจนขอบด้านในแจ็ค F-Type เสมอกับขอบโฟมพอดี

การต่อสายนำสัญญาณที่ LNB รุ่น C1

       สำหรับจานชุด Dfix และชุด Dmix ใช้ LNB รุ่นเดียวกันคือ C1 มีวิธีดังต่อไปนี้

  1. สายนำสัญญาณก่อนนำแจ็ค F-Type มาเข้าสายให้สอดเข้ากับรูของฐานหมวกที่มีไว้ให้ ก่อนทำการสวมแจ็ค
  2. เมื่อสอดคล้องแล้ว จึงนำแจ็ค F-Type มาเข้าสายให้เรียบร้อยตามวิธีที่ได้กล่าวมาข้างต้น
  3. จากนั้นนำมาต่อเข้ากับแจ็ค F-Type ตัวเมียของ LNB ที่เตรียมไว้ให้ ( ควรเก็บสายไว้ความยาวประมาณ 20 ซม. ) ใช้มือหมุนเกลียวให้แน่น  แล้วตามด้วยประแจขันให้แน่นจากนั้นเทปพันละลายพันบริเวณรอยต่อให้เรียบร้อยเพื่อกันน้ำเข้า LNB
  4. ทำการสวมหมวกและใช้ไขควงยึดน็อตจำนวน 1 ตัว ให้แน่น

 

 

 

การต่อสายนำสัญญาณที่ LNB รุ่น C1

       สำหรับจานชุด Dfix และชุด Dmix ใช้ LNB รุ่นเดียวกันคือ C1 มีวิธีดังต่อไปนี้

  1. สายนำสัญญาณก่อนนำแจ็ค F-Type มาเข้าสายให้สอดเข้ากับรูของฐานหมวกที่มีไว้ให้ ก่อนทำการสวมแจ็ค
  2. เมื่อสอดคล้องแล้ว จึงนำแจ็ค F-Type มาเข้าสายให้เรียบร้อยตามวิธีที่ได้กล่าวมาข้างต้น
  3. จากนั้นนำมาต่อเข้ากับแจ็ค F-Type ตัวเมียของ LNB ที่เตรียมไว้ให้ ( ควรเก็บสายไว้ความยาวประมาณ 20 ซม. ) ใช้มือหมุนเกลียวให้แน่น  แล้วตามด้วยประแจขันให้แน่นจากนั้นเทปพันละลายพันบริเวณรอยต่อให้เรียบร้อยเพื่อกันน้ำเข้า LNB
  4. ทำการสวมหมวกและใช้ไขควงยึดน็อตจำนวน 1 ตัว ให้แน่น

การต่อสายนำสัญญาณ LNB ชุด Dmix-Plus กับ มัลติสวิทช์

  1. ทำการตัดสายนำสัญญาณ จำนวน 2 เส้น ความยาวประมาณ 20 ซม. ( หรือตามความต้องการ ) และทำการเข้าแจ็ค F-Type ที่ปลายสายทั้ง 2 ด้าน ให้เรียบร้อย
  2. นำมาต่อเข้าที่มัลติสวิทช์ 22 Khz รุ่น SW-C / KU เข้าที่ อินพุต ที่ระบุว่า LNB-A ( 22 Khz ) และ LNB-B ( 0 Khz ) ทำการหมุนเกลียวแจ็คให้แน่นโดยใช้ประแจ
  3. สายนำสัญญาณที่มาจากเครื่องรับสัญญาณ ( ยังไม่ทำการเข้าแจ็ค F-Type ) มาสอดเข้าที่รูของฐานหมวกที่โรงงานเตรยมไว้ให้ ( รูสายนำสัญญาณที่ทางโรงงานจัดเตรียมไว้จะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของสายนำสัญญาณ เพื่อป้องกันสัตว์ตัวเล็ก ๆ เข้าไปอาศัยอยู่ )
  4. ทำการเข้าแจ็ค F-Type ให้เรียยบร้อย ( ควรเก็บสายไว้ความยาวประมาณ 20 ซม.เก็บโดยพันสายรอบ LNB เพื่อการตัดต่อแปลงในแปลงอนาคต )
  5. นำเทปพันละลายพันบริเวณรอยต่อทุกรอย เพื่อกันน้ำ
  6. ทำการสวมหมวกให้เรียบร้อย
  7. การเก็บสายนำสัญญาณ ถ้าเป็นการเก็บสายนำสัญญาณที่แขนฟีดฮอร์น ให้ใช้ เทปพันสายไฟ , เคเบิ้ลไทน์ , สายรัดทีทำจากลวด เลือดซื้อชนิดที่คุณภาพดี ทนแดด ทนฝน เพื่อไม่ต้องกลับมาซ่อมแซมในภายหลัง ทำการพันให้เรียบร้อย

            สำหรับการเก็บสายที่ตะแกรงจาน ต้องใช้สายรัดที่มีความแข็งแรงเพื่อสามารถสอดไปที่ตะแกรงและรัดเก็บ ควรเดินสายนำสัญญาณตามรอยของก้านจาน

การปรับมุมส่ายและก้มเงยของจานดาวเทียม

             ดาวเทียมให้แต่ละดวงตำแหน่งจะแตกต่างกันไปจะสังเกตุได้จาก ดาวเทียมมีตัวเลขกำกับมาด้วย ตัวเลขนั้นก็คือค่าของเส้นแวงเช่น ดาวเทียม Thaicom 2&3 78.5E ค่าทีระบุว่า 78.5E คือค่าเส้นแวงที่ 78.5 ส่วน E คือ East ดังนั้นในการติดตั้งจานดาวเทียม เราต้องส่ายและก้มเงย  ของจานแตกต่างกันไป

              เราสามารถหาค่ามุมส่ายและก้มเงยได้จากเครื่องรีซีฟเวอร์รุ่น Dfix  ( จะหาได้อย่างไรนั้นดูรายละเอียดได้ที่หน้า ตัวอย่างการรับสัญญาณดาวเทียม Thaicom 2&3

การปรับมุมส่าย

  1. ให้ยกหน้าจานแหงนขึ้นฟ้า และใช้ประแจยึดคอพอแน่นไม่ให้ก้มได้เพื่อทำการประกอบตัวช่วยเล็งทิศ ทำจากอลูมิเนียมซึ่งไม่มีผลกับเข็มทิศ ประกอบโดยให้ปลายตัวช่วยเล็งทิศอยู่ด้านหลังจานดังรูป
  2. เมื่อประกอบเสร็จแล้วให้นำเข็มทิศมาวางที่ปลายของตัวช่วยเล็งทิศ ดังรูป และหมุนคอให้ตัวเลขที่เป็นค่าเดียวกับค่ามุมสายอยู่ขนานกันกับแนวยาวของตัวช่วยเล็งทิศ
  3. เมื่อขยับหน้าจานจนได้มุมส่ายที่ถูกต้องแล้ว ให้นำประแจมาขันน็อตยึดคอจาน โดยต้องทำการขันน็อตสลับฟันปลาทิ้งน้ำหนักในการขันน็อตให้เท่า ๆ กัน ขันให้แน่นและมั่นคงทุกวัน

การปรับก้มเงยหน้าจาน

  1. คลายน็อตก้มเงย ให้หน้าจานสามารถก้มเงยได้
  2. นำตัววัดมุม ( Angle ) ไปยึดแนวหงายที่แผ่นเพลทรับตะแกรงจานดังรูป
  3. ก้มจานลงไป โดยให้สังเกตุที่ตัววัดมุมลูกศรชี้ตรงตัวเลขค่าก้มเงยหรือไม่ ถ้าตรงและถูกต้องแล้วให้ใช้ประแจขันน็อตยึดน็อตก้มเงยทุกตัวให้แน่นและมั่นคง
  4. ก่อนจบงานต้องตรวจสอบน็อตทุกตัวว่ายึดแน่นแล้วหรือยัง