การติดตั้งจานดาวเทียม
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


เทคนิคการประยุกต์การติดตั้งจานดาวเทียม article

ปัจจุบันจานดาวเทียมที่ติดตั้งไปมีมากมายนับหมื่นๆ ชุด  หรืออาจเป็นแสนชุดไปแล้วในประเทศไทย  ส่วนมากจะแบ่งเป็น  2  ประเภท  ใหญ่  คือ

1.       จานดาวเทียมแบบ  FIXD  อยู่กับที่

2.       จานดาวเทียมแบบ  MOVED

และมีอีกวิธีหนึ่งที่เป็นการประยุกต์จานดาวเทียมแบบ  FIX  อยู่กับที่  จากปกติรับดาวเทียมได้เพียงดวงใดดวงหนึ่งให้มีประสิทธิภาพรับดาวเทียมได้หลายดวง  เช่น  2  ดวง  หรือ  3  ดวง  จากจานดาวเทียมเพียงชุดเดียว

ระบบนี้เราเรียกว่า  “การใช้ระบบการเยื้องศูนย์  LNB  OFF  SET”  หรือที่นิยมเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “Dual  Feed  Duo  Feed”  หรือถ้า  3  ดวงเราเรียกว่า  “Trio”  หลักการทำงานง่ายๆ ก็คือ  อาศัยการสะท้อนคลื่น  (ให้ดูจากรูปตัวอย่าง)  จากรูปจะเห็นได้ว่าดาวเทียมที่ต้องการรับมีดังนี้

LNB  1  อยู่ศูนย์กลาง  Center  รับดาวเทียม  ST1  88  E

LNB  2  ลักษณะการติดตั้งเยื้องศูนย์ด้านบนรับดาวเทียม  Thaicom  78.5 E

LNB  3  ลักษณะการติดตั้งเยื้องศูนย์ด้านล่างรับดาวเทียม  ASIASAT2  100.5   E

ถ้าดูจากรูปจะเข้าใจมากขึ้นถึงหลักการสะท้อน  และการตกกระทบของคลื่น  เนื่องจากสาเหตุมาจากลักษณะการเยื้องศูนย์  และรับดาวเทียมได้นั้นมาจากรูปนั่นเอง

MAINLOOP  คือ  ศูนย์กลางของสัญญาณจะรับเข้ามาได้จะได้แกนการขยายสูงสุด

SIPE  LOOP  คือ  สัญญาณด้านข้างเคียงที่รับเข้ามาได้  แต่เกนการขยายจะต่ำกว่า

เช่นถ้าเราใช้จานดาวเทียมขนาด  227  cm.  รับสัญญาณ  MAINLOOP  จะได้ที่ความเข้มสัญญาณสูงสุด  ที่อยู่  LNB  Center  ถ้าใช้  SIPELOOP  รับ  จะได้ความเข้มสัญญาณเพียงประมาณ  70-80%  จากศูนย์กลาง  MAIN  LOOP  อันส่งผลให้สัญญาณดาวเทียมดวงไหนที่มีฟุตปริ้นลงไปพื้นที่ครอบคลุม  ก็สามารถใช้จานขนาดเล็กลงก็จะได้สัญญาณภาพที่  100%  ส่วนสัญญาณที่รับจาก  SIDE  LOOP  จะรับสัญญาณภาพได้ประมาณ  70-80%  ถ้ากรณีที่จะมีส่วนผกผันกับภาพก็คือ

1.       ขนาดของจานดาวเทียม

2.       ระยะห่างระหว่างดาวเทียมที่ต้องการนำการเยื้องศูนย์

3.       การปรับระยะ  FOCUS

ซึ่งโดยปกติแล้วองศาที่จะสามารถทำลักษณะ  DUO  นี้  จะไม่ควรห่างกันเกินกว่า  20  เพราะนั่นหมายถึงมุมตกกระทบจะเบี่ยงเบนมากเกินไปจนเกนการรับสัญญาณของจานดาวเทียมแบบ  SIDE  LOOP  ไม่เพียงพอกับสัญญาณที่รับได้

จากรูปนี้เองเป็นการต่อใช้งานหลังจากที่ได้ติดตั้งจานปรับตำแหน่งรับดาวเทียมเรียบร้อยแล้ว  และดำเนินการต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มี  2IF  INPUT  โดย  LNB1  ต่อเข้า  IF-A  และ  LNB 2  ต่อเข้า  IF-B  (ดังรูป)

ส่วนวิธีการ  Program  ตั้งช่องเลือกดาวเทียมให้เลือกจาก  Program  สถานะ  INPUT  ว่าจะเป็น  A  หรือ  B  หรือ  INPUT 1  หรือ  INPUT 2  เช่น  ต้องการช่องรายการ

“ASIASAT  3S เป็น  LNB 2  เลือก  IF-A  ช่องตั้งแต่  1 – 10”

“PALAPA  C2  เป็น  LNB 1  เลือก  IF-B  ช่องตั้งแต่  11 – 20”

จากรูปนี้เอง  เป็นการใช้อุปกรณ์เสริม  Multiswitch  แบบชนิดความถี่ตัดต่อ  0  KHz  และ  22  KHz  เป็นตัวเลือกว่าจะรับสัญญาณจากดาวเทียม  2  ดวง  ในกรณีที่  Receiver  มีเพียง  1  INPUT  โดยการ  Program  จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม  ดังนี้

-          LNB  ตัวที่รับ  ASIASAT  แนวโพลาไรท์  V  และ  H  เลือก  PROGRAM  ไปที่ตำแหน่ง  0KHz  13V,  18V

-          LNB  ตัวที่รับ  PALAPA  C2  แนวโพลาไรท์  V  และ  H  เลือก  PROGRAM  ไปที่ตำแหน่ง  22KHz  หรือ  13V+TONE, 18V+TONR

หมายเหตุ

0 KHz  หมายถึง  สภาวะปกติ  V  และ  H  13/18V

22 KHz  บางรุ่นอาจจะใช้คำว่า  TONE  แทน 

Receiver  บางรุ่นจะ  Program  ไม่เหมือนกัน  Switch  ก็จะทำการเลือกโดยอัตโนมัติ

จะเห็นว่า Program  ออกมาแบ่งได้เป็น  4  หมวด  ไม่ซ้ำกันเลย  ดังนั้น  Program  Receiver  จะทำหน้าที่สั่งงานจาก  Program  ไปตัดต่อ  Switch  เลือกว่าจะรับ  LNB   ช่องใดมา  เมื่อทำการ  Program  เสร็จสิ้นแล้วเพียงแต่เปลี่ยนช่องก็จะรับภาพได้อัตโนมัติตามที่  Program  ช่องไว้

จากรูป  การ  Program  ให้เครื่องตัดต่ออัตโนมัติด้วย  Switch 4x1

IF  INPUT  โพลาไรท์               โวลท์      0/22MHz                   ดาวเทียม                     หมวด

IF-A                       V                             13V.       0KHz                                     Thaicom                                1

IF-A                       V                             13V.       22KHz  (+TONE)               Pas4                                       2

IF-A                       H                             18V.       0KHz                                     ST1                                         3

IF-A                       H                             18V.       22KHz  (+TONE)               Asiasat 2                                4

IF-B                       V                             13V.       0KHz                                     Palapa C2                              5

IF-B                       V                             13V.       22KHz  (+TONE)               Asiasat 3S                             6

IF-B                       H                             18V.       0KHz                                     Apstar                                     7

IF-B                       H                             18V.       22KHz  (+TONE)               Apstar                                     8

จะเห็นได้ว่าจะ  Program  แบ่งออกได้ถึง  8  หมวดด้วยกัน  โดย  Program  ไม่ซ้ำกัน  ดังนั้นจะได้ดาวเทียม  8  ดวง  กับจานดาวเทียมแบบ  FIX  ดังรูปที่แสดงไว้

Multi Switch  0/22 KHz

Multi Switch 4 x 4

ขั้นตอนและวิธีการติดตั้งจานดาวเทียมแบบ  FIX  รับดาวเทียมหลายดวงมีวิธีการดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์  :  ต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียม  ASIASAT  2  ตำแหน่ง  100.5 E, ดาวเทียม  ST-1  ตำแหน่ง  88  E  โดยอุปกรณ์หลักๆ ที่ต้องใช้มีดังนี้

1.       จานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดขั้นต่ำเส้นผ่าศูนย์กลาง  227  cm.  หรือรุ่น  DMF227  1  ชุด

2.       LNB  แบบชนิด  V/H  13, 18V. (DL 2)  จำนวน  2  ตัว

3.       แผ่น  DUO  สำเร็จรูป

4.       Multi  Switch  แบบชนิดความถี่ตัดต่อ  0/22 KHz  จำนวน  1  ตัว

5.       Receiver  รุ่น  PR-9000L,  PR-3500  หรือ  DIGITAL  DPR2000  จำนวน  1  เครื่อง

ขั้นตอนการปรับแต่ง

1.       ในเบื้องต้นให้ทำการติดตั้งเหมือนการติดตั้งจาน  FIX  ทั่วไป  ให้รับชมรายการของดาวเทียมST-1  ให้ได้ก่อน  ให้อยู่ตำแหน่ง  LNB  Center  Focus

1.1    จะต้อง Tune  Receiver  ให้ตรงกับทีวีก่อน  มิฉะนั้นจะปรับอย่างไรก็ไม่มีสัญญาณภาพออก

1.2    ดาว  ST-1  เป็นดาวเทียมซึ่งยังไม่มีการส่งระบบ  Analogue  ดังนั้น  การตั้งรับสัญญาณจึงต้องใช้ Receiver  ระบบ  Digital  รับสัญญาณให้ได้ก่อน

2.       ยึด  Plate  DUO  เข้ากับ  Feed  Center  เดินร่วมกัน

จากรูป  เป็นการมองภาพจากด้านหน้าจานดาวเทียม  โดยให้ตำแหน่งหน้าจานเปรียบเทียบเป็นตำแหน่งของนาฬิกา  12  อยู่ด้านบน  6  อยู่ด้านล่าง  ตำแหน่ง  LNB  3  จะทำมุมกันประมาณ  45    ระหว่าง  12 กับ3  นาฬิกา  คือ  ตำแหน่งของ  LNB 3  รับดาวเทียม  Thaicom  ส่วนด้านล่าง  45  ตำแหน่ง  LNB  2  อยู่ระหว่าง  9  กับ  6  นาฬิกา  หรือประมาณ  7  นาฬิกานั่นเอง  3.  ยึด  Plate  DUO  เข้ากับ  Feed  Center  เดินร่วมกันนั่นคือ  ตำแหน่งการรับดาวเทียม  ASIASAT 2   ส่วนการปรับ  LNB  นั้นใช้หลักการง่ายๆ  คือ  มาร์ค “0”  ให้ชี้ไปทางทิศใต้เสมอก็จะได้แนวการรับสัญญาณ  V/H  ได้ถูกต้อง  โดยไม่ว่าจะรับตำแหน่งดาวเทียมดวงใดก็ตามจะต้องหันไปทิศใต้เสมอ(ดังรูป)

เมื่อได้แนวทางในการตั้ง LNB  เยื้องศูนย์แบบคร่าวๆ  แล้วสิ่งหนึ่งในการติดตั้งปรับแต่งตัว  LNB  ที่ไม่ได้อยู่ใน  Center  แล้ว  จะปรับได้ยากพอสมควรถ้าใช้รับจากระบบ  Digital  ดังนั้นเพื่อที่จะตั้งได้ง่ายขึ้นให้ใช้  Receiver  ระบบ  analogue  ในการตั้งรับดาวเทียม  ASIASAT 2  จะง่ายกว่ามาก  เหตุผลเพราะสัญญาณภาพในระบบ  Analogue  นี้  ถ้าภาพไม่ชัดอย่างไรจะมีภาพให้เห็นเป็นลางๆ  จึงเป็นจุดสังเกตในการรับว่าภาพได้ตำแหน่งหรือยังส่วนถ้าเป็นระบบ  Digital  แล้ว  ถ้าตำแหน่งไม่ตรงจริงๆ  จะไม่มีภาพแสดงให้เห็นเลย  จึงทำการปรับหาได้ยาก

จากนั้นให้ทำการปรับเลื่อน  LNB 2  เข้าออกสไลด์ไปตาม  Plate  DUO  ให้รับภาพให้ชัดเจนที่สุดแล้วล็อคตำแหน่ง  LNB  2  ไว้  ซูม  LNB  2  ให้สูงต่ำเพื่อปรับระยะ  Focus  ให้ได้ถูกต้องที่สุด  โดยสังเกตภาพที่ไดรับได้ชัดที่สุดเป็นเกณฑ์ (ปรับให้ได้ภาพใกล้เคียง  100%  ให้ได้)  ในระบบ  Analogue

เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว  ให้ต่อ  Receiver  Digital  DPR2000(ดังรูป)  โดยผ่าน  Moltiswitch  0/22 KHz  และ  Program  เลือกดูตามขั้นตอนการ  Program  โดยถ้า  Program  เรียบร้อยแล้ว  Switch  จะทำงานอัตโนมัติเพียงแต่เปลี่ยนช่องที่รีโมทของ  Receiver  ก็จะตัดต่อให้เองโดยอัตโนมัติ   โดยมิต้องไปปรับ  Program  ใดๆ  ทั้งสิ้น (จากรูป)  ถ้าต้องการรับ  Thaicom  ก็ทำตามขั้นตอนเดียวกัน  ผิดกันก็คือ  ตำแหน่ง  LNB  3  จะอยู่ด้านบนนั่นเอง

                    

สรุป

เทคนิคการติดตั้ง  DUO  นี้ไม่จำเป็นที่จะติดตั้งดาวเทียมตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเสมอไป  สามารถหันไปรับดาวเทียมดวงอื่นได้เหมือนกัน  และทำให้ประหยัดต้นทุนเรื่องการลงทุนเกี่ยวกับจานดาวเทียมที่จะต้องติดตั้ง  2  ชุด  หรือ  3  ชุด  เพื่อรับดาวเทียม  FIX  คนละดวง

แต่สัญญาณที่รับได้จากการทำ  DUO  จะมีสัญญาณแรงเท่ากับรับโดยตรงมิได้  แต่ถือว่าภาพที่ได้มาอยู่ในเกนชัดเจนพอควร  แต่จะได้ผลเต็มที่เฉพาะสัญญาณจากดาวเทียมที่มีความเข้มสูงจึงจะได้ภาพที่ชัดเจนได้เช่นกัน