เสาทีวี, เสาอากาศทีวี
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


ความรู้พื้นฐานในการรับสัญญาณโทรทัศน์ article

          การรับสัญญาณภาพนั้นคล้ายๆ กับการรับสัญญาณเสียง  แต่การรับสัญญาณภาพมีรายละเอียดที่มากกว่า  ยกตัวอย่าง  เช่น  การรับสัญญาณวิทยุจากปีกอากาศมีสัญญาณเครื่องส่งที่ส่งไปสะท้อนกับตึกหรือภูเขาแล้วกลับมาเข้าเครื่องดังรูป

 จากรูป  สัญญาณมี  3  ทางด้วยกัน  คือ

                เส้นทางที่  1.  จากเครื่องส่งตรงเข้าเครื่องรับ

                เส้นทางที่  2.  และ  3.  จากเครื่องส่งไปสะท้อนกับตึกและภูเขา  แล้วค่อยเข้าไปยังเครื่องรับ  จะเห็นว่าระยะทางของคลื่นสะท้อนมีระยะทางมากกว่า  จึงทำให้เดินทางไปถึงเครื่องรับช้ากว่า  สมมุติว่าคลื่นตรงระยะทาง  20  กิโลเมตร  และระยะทางคลื่นสะท้อน  มีระยะทาง  25  กิโลเมตร  การเดินทางของคลื่น  300,000  กิโลเมตร/วินาที  ระยะทางที่เดินทางต่างกันน้อยมาก  เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของคลื่นที่เดินทาง  แต่มนุษย์เราแยกไม่ออก  เพราะเสียงที่สะท้อนและเข้ามาทีหลังมีสัญญาณที่คล้ายกัน  แต่การับสัญญาณภาพนั้น  หากมีคลื่นสะท้อนจะปรากฏเป็นภาพซ้อนขึ้น  ซึ่งตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้  ดังนั้นการส่ง  และรับสัญญาณภาพจึงต้องจัดระบบและอุปกรณ์ในการรับสัญญาณที่มีทิศทางในการรับที่แน่นอน  ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการรับของปีกอากาศในการรับในแบบทิศทางเดียว

 สาเหตุของการเกิดภาพซ้อนในโทรทัศน์

เนื่องจากสัญญาณที่เข้ามาทางเครื่องรับมีเวลาที่แตกต่างกัน  ดังรูป

                จากรูปสัญญาณทางตรงที่เข้าเครื่องรับจะมีแรงมากกว่าทางที่ไปสะท้อนกับตึก  จึงทำให้สัญญาณภาพที่ปรากฏมีภาพเป็นเงาบางๆ  ซ้อนอยู่  ปัญหาเรื่องภาพที่จะเกิดขึ้นในตัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีตึกสูงๆ เช่น  กรุงเทพฯ  เป็นต้น

 

ความแรงสัญญาณ (dB)

FM

FM Stereo

Band I

Band III

UHF

ต่ำสุด ( dB )

40

50

52

54

57

สูงสุด ( dB )

80

80

84

84

84

              ตารางที่  2.1  ระดับสัญญาณสูงสุดและต่ำสุดที่เครื่องรับต้องการ

ชนิดของสัญญาณรบกวน

สังเกตได้  S/N ( dB)

ยอมรับได้  S/N  ( dB )

ภาพซ้อน

32

24

สโนว?หรือเม็ดฝน

40

31

การบีต

30

21

 ตารางที่  2.2  ค่า S/N ที่ทำให้สังเกตเห็นการรบกวนต่างๆ

 

การแก้ไขปัญหาภาพซ้อนจากการสะท้อนของตึก

                จากตารางที่  2.2  สัญญาณรบกวนจะปรากฏเป็นภาพเงาซ้อนได้  จะต้องมีความเข้มของสัญญาณจริงลบด้วยสัญญาณรบกวน  (ดูค่า  S/N  จากตารางที่ 2.1)  มีค่าน้อยกว่า  32  dB  ถ้าหากความเข้มของสัญญาณที่เป็นเงาที่เราไม่ต้องการยิ่งมีความเข้มยิ่งสูง  ภาพนั้นก็จะยิ่งปรากฏชัดขึ้น

                วิธีการแก้ไขก็คือ  ต้องลดความเข้มของสัญญาณที่ไม่ต้องการลง  คือ  ทำให้ทิศทางในการรับของสัญญาณแคบลง  โดยทำให้สัญญาณทางตรงมีความแรงมากกว่ามาสะท้อน  จะทำให้ภาพเงานั้นหายไป

                วิธีการรับแคบลง  คือ  การใช้แผงรับ  ที่มีอิลิเมนท์มากๆ  มาช่วย

จากรูป  การรับสัญญาณจะมีทิศทางที่ค่อนข้างกว้างทำให้สัญญาณที่สะท้อนเข้ามา  สมมุติว่าสัญญาณทางตรงมีค่า  75  dB  และสัญญาณที่สะท้อน  50  dB  สัญญาณภาพเงาก็จะปรากฏให้เห็น  ถ้าเราสามารถบีบบีมในการรับสัญญาณให้แคบ  ตามรูป  เราจะได้สัญญาณทางตรงเพิ่มขึ้น  และลดสัญญาณทางสะท้อนลง

สมมุติว่า  สัญญาณทางตรงที่มีค่า  80  dB  คือ  เพิ่ม  5  dB  และทางสะท้อนลดลง  40  dB  ทำให้สัญญาณเงานั้นหายไป  (ปีกอากาศที่สามารถบีบให้บีบแคบลงจะกล่าวในบทต่อไป) 

แต่ในทางปฏิบัตินั้น  สัญญาณสะท้อนอาจจะมาจากหลายทิศทาง  ในบางพื้นที่ที่ลดบีมของปีกอากาศก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้  หรือการแก้ไขปัญหาก็จะต้องใช้เครื่องมือ  หรืออุปกรณ์ในการรับโดยตรงจากดาวเทียม  เพราะราคาจานรับดาวเทียมได้ถูกลงมาก  ดังนั้นหากต้นทุนในการแก้ไขปัญหาสูงเกิน  ก็ควรแก้ไขปัญหาในการรับแบบอื่น

ระดับสัญญาณที่เครื่องรับ  (TV)  ต้องการ 

                เครื่องรับโทรทัศน์ในสมัยก่อน  วงจรขยายสัญญาณภาพในภาค  RF  ไม่ดีนัก  จึงทำให้สัญญาณที่ภาครับต้องการจะต้องมีสัญญาณไม่ต่ำกว่า  60  dB  ขึ้นไป  จึงจะเป็นสัญญาณภาพที่คมชัด  และสัญญาณสูงสุด  (MAX  INPUT)  ก็จะต้องไม่เกิน  90  dB  หากเกินจะทำให้ภาพที่ได้ล้ม  แต่ในปัจจุบันโทรทัศน์บางรุ่นก็ได้มีการพัฒนาภาครับให้มีความสามารถรับสัญญาณต่ำสุด  50  dB  ภาพที่ได้ยังมีความคมชัดและสูงสุด  100  dB  ภาพก็ยังไม่ล้ม

                สาเหตุเพราะว่า  ภาค  TUNER  ของโทรทัศน์รุ่นใหม่  มีวงจรควบคุมการขยายโดยอัตโนมัติ  Automatic  Gain  Control  (AGC)  การพัฒนาในภาครับของโทรทัศน์ให้มีช่วงการรับที่กว้างขึ้นจะมีไม่กี่ยี่ห้อเท่านั้น  ดังนั้นจึงมีปัญหาเกิดขึ้นในการเดินระบบ  MATV  ในอพาร์ทเมนต์  เพราะว่าในแต่ละห้องมีโทรทัศน์หลากหลายรุ่นมาก  ในบางครั้งห้องเดียวกัน  อาจจะมีโทรทัศน์  2  ยี่ห้อ  และมีวงจร  AGC  ควบคุมแตกต่างกัน  สัญญาณที่เอาท์เลตป้อนให้กับโทรทัศน์ตรงจุดนั้นเกิดแรง  90-100  dB  โทรทัศน์บางรุ่นรับแล้วภาพไม่ล้ม  แต่กลับคมชัด  แต่บางรุ่นภาพล้ม  ซึ่งทำให้เป็นเหตุให้ผู้ติดตั้งระบบและเจ้าของถกเถียงกันว่า  ระหว่างระบบไม่ดีหรือโทรทัศน์ไม่ดีนั้น  หมายความว่าระบบไม่ดีผู้ทำระบบก็บอกว่าทำไม  ที่จุดเดียวกันโทรทัศน์บางเครื่องถึงดูได้  แต่เครื่องที่ดูไม่ได้เป็นเครื่องเสีย  การที่มีการถกเถียงแบบนี้ไม่ดีกับผู้ติดตั้งระบบ  เพราะจะทำให้เก็บเงินไม่ได้  เรื่องกล้ำกึ่งแบบนี้อธิบายเรื่อง  AGC  หรือยกแม่น้ำทั้งห้ามาพูดลูกค้าคงไม่ฟัง  เพราะฉะนั้นจงนึกอยู่เสมอว่า  ลูกค้าคือผู้ถูกเสมอ  การที่ทำงานแล้วโทรทัศน์บางเครื่องรับไม่ได้นั้น  คือระบบที่ไม่มีมาตรฐาน  เพราะฉะนั้นการทำระบบให้ได้มาตรฐาน  สัญญาณจะต้องอยู่ระหว่าง  60 – 85  dB 

 ความจำเป็นของระดับความแรงของสัญญาณแต่ละช่อง

                เราจะสังเกตได้ว่า  ทำไมการส่งสัญญาณโทรทัศน์ต้องส่งช่องเว้นช่อง  สามารถจะกระทำได้  ถ้าระดับความแรงของสัญญาณ  ในแต่ละช่องเท่ากัน  และส่งสัญญาณจากจุดเดียวสามารถรับสัญญาณได้ทั่วประเทศ  แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ  แล้วทำไม่ได้

  จากรูป  สถานีส่งทั้ง  2  มีความห่างกัน  300  กิโลเมตร  และทั้งคู่ก็ส่งสัญญาณเป็นช่องเหมือนกัน  โทรทัศน์  A  รับสัญญาณจากเครื่องส่ง  กทม.  ไม่มีปัญหา  เช่นเดียวกับ  โทรทัศน์  C  รับจากต่างจังหวัดไม่มีปัญหา  สัญญาณจาก  กทม.  จะส่งเข้าเครื่องรับ  C  ได้  แต่สัญญาณเบามาก  การรบกวนก็ไม่เกิดขึ้น  แต่โทรทัศน์  B  มีปัญหาแน่  เพราะสัญญาณที่ได้รับมีความแรงเท่าๆ  กัน  สัญญาณที่ได้รับจึงรบกวนมาก  ดังนั้นจึงมีการส่งสัญญาณแบบสลับช่อง  เพื่อให้พื้นที่ที่ติดกันใช้  ช่องที่เหลือในการส่งดังนี้

 ภาพแสดงการส่งสัญญาณทับซ้อนกันมาก

จากรูปจะเห็นว่า  สัญญาณ  1  ทับกับ  2  และ  5  การรับสัญญาณในเขตระหว่างรอยต่อ  2-5  จะรับสัญญาณไม่ดี  การส่งสัญญาณทางภาคพื้นดิน  จะมีปัญหานี้ค่อนข้างมาก  เพราะความไม่สามัคคีของสถานีส่ง  ตั้งกันคนละทิศทาง  (ให้สังเกตในกรงเทพฯ ก็คงจะรู้  สถานีตั้งคนละทิศทาง)  ความซวยมักตกอยู่กับผู้รับ  ต้องหาทางแก้ไขกันวุ่นวาย  เพราะการไม่ประสานงานกันของภาครัฐ  ยกตัวอย่าง  ไฟฟ้า / ประปา / โทรศัพท์ / กทม. เดี๋ยวขุดเดี๋ยวกลบ  (ถนนบางเส้นเลยมีฉายา  ถนนเจ็ดชั่วโคตร)  ถ้าหน่วยงานของรัฐมีการประสานงานกันดีเหมือนกับประเทศอื่นเขาระบบการรับทีวีบ้านเราคงดีกว่านี้

 รูปแฟลตแถวคลองเตย

ถ้าท่านได้มีโอกาสขับรถขึ้นทางด่วนจากบางนาไปทางคลองเตย  ก่อนจะถึงกรมศุลกากร  ถ้าท่านสังเกตทางขวาและซ้ายจะเห็นแฟลตอยู่  และบนหลังคาแฟลตมีเสาอากาศเต็มหลังคาไปหมด  สัญญาณที่มาทางอากาศคงจะสับสนน่าดูว่าจะเข้าเสาต้นไหน

                ผมว่านกเวลาบินย่านนั้น  คงต้องใช้ความสามารถพอสมควร  มิเช่นนั้นอาจจะเกิดโศกนาฏกรรมได้

* เป็นภาพที่สะท้อนความล้มเหลวระบบการส่ง  TV  ในบ้านเราได้เป็นอย่างดี

จากรูป  การส่งสัญญาณแบบสลับช่องนี้  จะทำให้จุด  B  ที่มีปัญหาได้รับสัญญาณจาก  2  ที่หมดไป

ตรงจุดนี้สามารถเลือกรับสัญญาณจากจุดไหนก็ได้  โดยจะไม่เกิดการรบกวนจากสถานีส่ง  จากรูป  ในการรับสัญญาณระหว่างรอยต่อของสถานีในต่างจังหวัด  และในกรุงเทพฯ  ช่วงสัญญาณเป็นการส่งสลับช่วงกัน  สัญญาณทางไหนดีกว่าก็หันไปรับทางด้านนั้น  สัญญาณอีกฝั่งนึงก็ไม่สามารถรบกวนกันได้  เพราะส่งคนละช่อง

ความสับสนในการรับส่งช่องสัญญาณ

          ในบ้านเรามีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ  ผ่านความถี่  VHF  ได้รับการแบ่งช่องสัญญาณออกมา  เป็นช่องๆ  คือ  ช่อง  2  ความถี่  47 – 54  MHz  ช่อง  3  54 – 61  MHz  ถึงช่อง  5  174 -181  MHz  (ดูตารางรายละเอียดการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดังรูปและตารางประกอบ)

                จากตารางจะเห็นได้ว่า  ช่องสัญญาณแต่ละความถี่จะแบ่งออกมาเป็นแต่ละช่อง  ช่องโทรทัศน์ก็เลยเอาชื่อของช่องผ่านความถี่  VHF  ตั้งชื่อช่องโทรทัศน์  3 – 5 – 7 – 9 – 11  ปัญหาก็คือ  เมื่อช่องต่างๆ จะส่งสัญญาณในต่างจังหวัดก็จะต้องมีการสลับช่องส่ง  ช่อง  3  ในกรุงเทพฯ  เมื่อออกต่างจังหวัด  อาจจะต้องย้ายความถี่ไปส่งเป็นช่อง  6  , ช่อง  7  กรุงเทพฯ  อาจจะต้องย้ายไปส่งช่อง  12  ชาวบ้านก็เลยสับสนว่าทำไมจูนความถี่  224  MHz  เป็นช่อง  12  แต่มีโลโก้ของช่อง  7ออกมาแต่โทรทัศน์ในปัจจุบันนั้นเป็นระบบ  AUTO  TONE

ค้นหาช่องเอง  และเรียงช่องให้อัตโนมัติ  ถึงเวลาก็เปลี่ยนช่อง  ไม่ต้องไปสนใจว่าความถี่อะไรเป็นช่องอะไร  ในช่วงแรกสื่อแต่ละช่องจะต้องแจกเอกสารหาความถี่พอสมควร  ในปัจจุบันได้มีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นมาอีกย่าน  UHF  ได้สัมปทานช่อง  29 (ITV)  ความถี่  534 – 542  MHz  ถ้าตั้งชื่อของช่องสถานีเป็นชื่อช่อง  29  ในขณะนี้คง  จะปวดหัวน่าดู  เฉพาะในกรุงเทพฯ  ก็ส่งไป  3  ช่องความถี่  คงต้องมีการแจกเอกสารชี้แจงเรื่องความถี่ไม่ตรงกับชื่อช่องวุ่นวาย  เขาก็ตั้งชื่อเองว่า  ITV  จะส่งช่องอะไรก็ได้  (ในช่วงแรกๆ  ส่ง 3 ช่อง  สัญญาณ  26..29..34)

 

ปัญหาการนำแผงรับสัญญาณไปติดตั้งในแต่ละพื้นที่

                คนทางจังหวัดระยองเอาของมาส่งขายในกรุงเทพฯ ก็พอดีว่าโทรทัศน์ที่บ้านไม่ค่อยชัด  โดยเฉพาะช่อง  3  ก็เลยแวะ  ซื้อปีกอากาศแถวบ้านหม้อ  คิดว่าคุณภาพดีกว่าแถวระยอง  เมื่อเข้าร้านก็บอกกับคนขายว่า  เอาแผงรับโทรทัศน์ของช่อง  3  เอาอย่างดีที่สุด  เพราะโทรทัศน์ไม่ค่อยชัด  คนขายก็จัดแผงความถี่ช่อง  3  ให้ตามคำขอ  เมื่อเอาไปถึงบ้านก็ทำการติดตั้ง  ปรากฏว่าการรับแย่กว่าของที่มีอยู่

                สาเหตุเพราะช่อง  3  ที่ระยองได้มีการย้ายผ่านความถี่ไปเป็น  VHF  BAND  HIGHT  (ช่อง 5 – 12) ดังนั้นถ้าจะเป็นช่างติดตั้งเสาจะต้องรู้ว่าช่องมีการย้ายไปส่งเป็นช่องอะไรสถานีส่งตั้งอยู่ที่ใด  เมื่อไปติดตั้งจะได้เตรียมอุปกรณ์ในการติดตั้งได้ถูกต้อง

 

ทำไมโทรทัศน์บางเครื่องรับสัญญาณแล้วไม่มีสี

                ช่างติดตั้งระบบ  MATV  บางท่านที่ไม่ได้เรียนรู้พื้นฐานทางการส่งสัญญาณโทรทัศน์สีมาจะเกิดปัญหานี้  เพราะเมื่อติดตั้งงานระบบเสร็จแล้ว  โทรทัศน์บางเครื่องรับแล้วไม่มีสี  ไม่สามารถอธิบายให้เจ้าของโครงการทราบได้

                สาเหตุการไม่มีสี  เนื่องจากโทรทัศน์มีการส่งระบบแตกต่างกัน  คือ

1.       ระบบ  PAL

2.       ระบบ  NTSL

คลื่นพาห์  (SUB  CARRIER)  ของทั้ง  2  ระบบไม่เท่ากัน  และสลับเฟสของสัญญาณไม่เหมือนกันด้วย  ทำให้เครื่องรับไม่สามารถจะแยกสัญญาณสีออกจากภาพได้  สัญญาณจึงถูกตัดออกด้วยระบบ  COLOR  KILLER  ภายในภาคสีของโทรทัศน์ในประเทศไทยส่งสัญญาณสีเป็นระบบ  PAL  ความถี่  SUB  CARRIER  4,433,619  Hz

 


 





อุปกรณ์จานดาวเทียม article
ชุดจานดาวเทียม PSI article
Sat & DVD article
หน้าหลัก
Promotion Kenpro
Diagram IP Camera
Headline
ชุดติดตั้งระบบCCTV 16 ch
ชุดติดตั้งระบบCCTV 4 ch
ช่องรายการดาวเทียม NSS6
ช่องรายการดาวเทียม THAICOM 2/5
ชุด IPM จานดำ+จานส้ม
ชุด IPM จานดำ DUO
ชุดจานส้ม IPM
แก้ไขช่อง 3 เปลี่ยนความถี่ใหม่
การ์ดสมาชิกเคเบิ้ลทีวี
ตัวอ่านสมาร์การ์ด
กิจกรรม " รวมพลัง ต้อนรับปีใหม่ " article
กิจกรรม " วันรวมพลัง ฟอร์เวิร์ด " article
ขั้นตอนการทำ Manual OTA article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (3) article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (2) article
การติดตั้งจาน 7.5' Move Dynasat (1) article
การเพิ่มดาวเทียม LMI (KU-BAND) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (3) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (2) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat Thaicom2/5 & NSS6 (1) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (3) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (2) article
การติดตั้งจาน 5.5 Dynasat ฟิกซ์ (1) article
ตารางมุมก้มเงยจานมูฟ ประเทศไทย article
ตารางมุมก้มเงย / มุมกวาด ประเทศไทย article
มุมก้ม/มุมกวาดในกรุงเทพฯ article
การใช้ตัววัดมุมอย่างมืออาชีพ article
การใช้เข็มทิศอย่างมืออาชีพ article
แก้ไขช่อง 9 เปลี่ยนความถี่ใหม่ article
การเพิ่มความถี่ช่อง 5 เครื่อง Dynasat F1 article
การแก้ไขความถี่ช่อง 5 article
Note : การดานถามตอบ article
หัวรับสัญญาณดาวเทียม article
หน้าจานดาวเทียม article
ชุดจานดาวเทียม article
Note44 article
มุมก้มเงยและมุมชดเชยของจานมูฟ article
ดาวเทียม NSS 6 (KU-Band) article
OTA : Update - On - Air article
ST 1 ( Cable TV Channel ) article
Dynasat Set article
ชุดจานดาวเทียม article
ลักษณะขั้วคลื่น V/H และ L/R article
การใช้เครื่อง Dynasat Number 1mini article
แนะนำพนักงาน ฟอร์เวิร์ด แซทเทิลไลท์ article
ฟุตบอล article
I-SKY-NET article
Digital MMDS (TTV 16 ช่อง) article
Sat & VCD article
ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียม Duo C/KU-Band Dynasat article
ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียมแบบมูฟ ( Dmove ) article
ขั้นตอนการติดตั้งจานดาวเทียมแบบฟิกซ์ (C-Band Fix) article
เทคนิคการประยุกต์การติดตั้งจานดาวเทียม article
Note 4 article
Note 3 article
ระบบเคเบิ้ลทีวี article
การติดตั้ง TRIO ( รับดาวเทียม Thaicom2/3, ST1 และ PAS10 ด้วยหน้าจานใบเดียว) article
การปรับมุมชดเชย หน้าจาน Dynasat article
ขั้นตอนในการปรับจานมูฟ article
การใช้ตัววัดมุมอย่างมืออาชีพ article
ผลทดสอบการรับสัญญาณดาวเทียม Agila KU article
การติดตั้ง LNBF EXTRA GAIN article
C-KU Duo Plate article
หัวรับสัญญาณดาวเทียม LNB/ เพลท LNB article
ตัวอย่างช่องรายการ ดาวเทียม Thaicom 2/3 article
การเพิ่มช่อง 3 ( Dmix ) article
C-KU Duo Plate article
ดาวเทียม TELSTAR 10 KU article
ช่องรายการ Dmove article
ช่องรายการศาสนา จากดาวเทียม C-Band article
ช่องรายการกีฬา จากดาวเทียมระบบ C-Band (ฟรีทีวี) article
ดาวเทียม MEASAT 1 article
ดาวเทียม THAICOM 2/3 KU article
ดาวเทียม THAICOM 2,3 article
การเพิ่มจุดรับชมจาน C-Band Fix article
แยกดูอิสระ ระบบจานดาวเทียม article
infra Sender article
Sat Connect article
กันขโมยไร้สาย article