ความรักดี ๆ อยู่ที่ไหน?
ReadyPlanet.com


ความรักดี ๆ อยู่ที่ไหน?


 “มองดูคนรอบรอบกาย มองใครใครเขารักกัน..” ทันเพลงนี้กันไหมครับ คงจะง่ายเกินไป ถ้าเอาแค่เนื้อเพลงมาเขียนเป็นบทความความรัก (แต่ก็อดที่จะร้องในใจไม่ได้ เมื่อใช้ชื่อบทความนี้ ) มีไม่น้อยเลยที่หลายคนรู้สึกมีคำถามนี้ โดยที่ไม่เกี่ยวอะไรกับเพลง กับคำถามที่ว่า ความรักดี ๆ อยู่ที่ไหน?… กัน

มุมหนึ่งก็เหมือนเป็นคำถามของคนโสด แต่ไม่ใช่เสียทีเดียว คนผิดหวัง หรือคนที่กำลังมีสิ่งไม่ดีเรื่องรักเกิดขึ้นกับตัว ในทำนองว่า ทำไมผลลัพธ์ไม่เป็นดังหวัง? ทำไมรักเราต้องเป็นเช่นนี้? ก็เกิดคำถามนี้ได้ขึ้นเช่นเดียวกัน โดยถ้าจะให้ตอบทันทีว่ารักดี ๆ อยู่ที่ไหนนั้น ก็ยากและมีหลายมุมมอง นัยหนึ่ง หากเขียนบทความความรักแล้วโยงเข้าสัจธรรม ธรรมมะ ก็ไม่น่ามีอะไรให้เขียนมากนัก แม้จะเป็นจริงแต่ก็เหมือนดึงทุกสิ่งขมวดปมลงปลายทางสุดท้ายไปเสียหมด เขียนอ่านกันแบบคนที่อยู่ระหว่างทางเข้าใจกัน ประสาเพื่อนคุยกันดีกว่า

ความรักดี ๆ อยู่ที่ไหน?

ก่อนจะไปคำถามว่า “อยู่ที่ไหน?” สำหรับบางคนอาจสะดุดใจตั้งแต่ “มีหรือไม่” เพราะความต่างในเรื่องนี้มีหลายมุมมอง หลายคนเมื่อผ่านอะไรไป (หรือผ่านอะไรมา) ย่อมมีทัศนคติในแบบหนึ่ง มองในแง่บวกที่สุด รักดี ๆ มีแน่ มีอยู่ทั่วไป มองในแง่ร้ายก็คิดไปได้ว่า มันไม่มี เหมือนรักแท้ไม่มีจริง..

ความรักเป็นเรื่องที่ยากจะถกเถียง หรือเถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์ จะมีหรือไม่ หากพิจารณาก็ต้องมองด้วยใจเป็นกลาง ไม่เอาเพียงประสบการณ์ของเราเป็นที่ตั้ง หรือ เอาแต่ความต้องการส่วนตัว เสมือนเราคาดหวังไว้สูงเกินไปว่ารักดี ๆ ต้องเป็นอย่างไร แบบนี้คงเหนื่อยเกินไปที่จะได้รักดี ๆ หรือตัดสินทันทีว่ารักดี ๆ คงไม่มีจริง…

บอกแทนกันไม่ได้… แต่

จากย่อหน้าที่ผ่านไป แม้มองในมุมที่ “ความรักดี ๆ มีอยู่” นั้น แต่มันก็มียังมีคำถามที่ว่า แล้ว “ความรัก แบบไหนที่ว่าดี?” นี่เองจึงเป็นเหตุให้จะบอกว่า อยู่อิตาลี อยู่เมืองบาเซโลน่า อยู่โชคชัย 4 หรือที่หน้าพาราก้อน นั้นมันคงไม่ใช่ และแม้ว่ายังไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่โดยส่วนใหญ่ เราก็จะประเมินความรักที่ดี ต้องมี “คุณสมบัติ” บางสิ่งบางอย่าง..

มีงานวิจัยที่น่าสนใจสรุปความโดยคร่าวไว้ว่า คนเราพร้อมที่จะ “ปรับสเปค” (คุณสมบัติ) ลงมาเมื่อพบว่าสิ่งดี ๆ (ที่ต้องการ) นั้นอยู่เกินเอื้อมเกินไป อ้างอิงวิจัยอีกทีจากในหนังสือ The Upside of irrationality เป็นหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรม (จิตวิทยา) มีส่วนหนึ่งยกตัวอย่างไว้ประมาณว่า โดยเบื้องต้นเราล้วนอยากได้ หนุ่มหล่อ สาวสวย อย่างดารา ซุปเปอร์สตาร์มาเป็นแฟนกันทั้งสิ้น แต่เราก็พร้อมที่จะ “ปรับตัว” เพิ่ม/ลด คุณสมบัติบางอย่างไปตามที่ใกล้เคียงหรือเหมาะสมกับตัวเอง (เลิกฝันจะมีแฟนดารา เพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้) ฟังดูน่าดูดีมีเหตุผลว่าไหม?

แต่ชีวิตจริงนอกตำราในการปรับตัวนั้นบางทีใช่ว่าเกิดจากเหตุผลแท้จริง(จากตัวเรา) มันอาจเกิดจากการเปรียบเทียบและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เห็นคน(ที่มองว่า)ขี้เหร่ได้แฟนหน้าตาดี เราก็คิดว่าเราน่าจะหาได้เหมือนกัน หรือ ในอดีตเราเกิด (บังเอิญ) ได้แฟนหน้าตาดี (สมมติเราหน้าตาไม่ดีเท่าไหร่) เมื่อไปกันไม่รอด เลิกกันไป เวลาที่เราจะมีแฟนใหม่ เราย่อมไม่อยากที่จะยอมลดมาตรฐานลง (ต้องได้หน้าตาดีเหมือนเดิม) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าไม่ได้เกิดจากตัวเราเอง แต่เกิดจากสายตาคนอื่น หรือสิ่งแวดล้อมก็ได้ เช่น กลัวถูกดูแคลน กลัวแฟนเก่าเยาะเย้ย (เป็นการยกตัวอย่างง่าย ๆ เพราะหลายคนไม่ได้คบคนเพียงหน้าตา)

 “ดีวันนี้ อาจไม่ดีวันหน้า”

ส่วนตัวก็เคยมีประสบการณ์สมัยเรียนมัธยม ที่ช่วงหนึ่งกำลังชอบพอกันกับรุ่นน้องคนหนึ่ง เธอผอมผิวเข้ม ประเด็นตรงผิวเข้มนี้เอง ทำให้เหล่าเพื่อน ๆ ล้อจนผมทนไม่ไหว เลิกสนใจน้องเขาดื้อ ๆ (รู้สึกผิดจนวันนี้) ฟังดูเหมือนเพื่อน ๆ เหยียดผิว (racism) แต่มันก็เป็นในมุมวัยคึกคะนองมากกว่า และตอนนั้นเป็น puppy love รักแบบเด็ก ๆ แต่ก็นี่แหละตัวอย่างหนึ่งของการไม่ได้ตัดสินใจเลือกอะไรด้วยตัวเองจริง ๆ

ส่วนหนึ่งการปรับตัวในที่นี้บางทีก็ไม่ใช่ลักษณะในทางบวก อาจถือว่าเป็นการ “เปลี่ยนแปลง” มากกว่า “ปรับตัว” โดยอย่างยิ่งเมื่อเกิดการเปรียบเทียบ เช่นว่า เห็นเพื่อน เห็นคนอื่น ได้สามีมีฐานะการเงินดี ได้ท่องเที่ยวที่ต่าง ๆ และเมื่อกลับมามองของตนเอง เล่นแต่เกมส์ แต่งรถ สะสมของที่เราไม่ได้ชอบด้วย ในทำนองนี้ ก็จะรู้สึกว่าตนไม่ได้คนดีเหมือนเพื่อน ทั้งที่บางสิ่งนั้นเราก็ไม่ได้ชอบ เช่น เราไม่ได้ชอบท่องเที่ยว หรืออื่น ๆ ที่แท้แล้วไม่ใช่สาระสำคัญของการมีคู่ หรือนิยามชีวิตคู่ที่เราต้องการ นอกจากนี้ สามีเพื่อนคนนั้นอาจมีคุณสมบัติอื่นที่***สำหรับคุณมากมายก็เป็นได้…

คนเราควรมีสิทธิเลือก แต่บางทีคุณก็เลือกแล้วนะ..

คนเราควรมีสิทธิเลือก แต่บางทีคุณก็เลือกแล้วนะ.. ตัวอย่าง (แบบเข้าใจง่ายเช่นเดิม) มีผู้หญิงคนหนึ่งปิ๊ง (แอบชอบ) กับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งวันนั้นเขายืนสูบบุหรี่อยู่กับเพื่อน ผ่านไปไม่นานตกลงปลงใจคบกัน รักกัน อยู่ไปสักพัก เธอบ่นเขาว่า “เมื่อไหร่จะเลิกบุหรี่สักที..” เช่นนี้โทษใคร หญิงคนนี้จะอ้างก็ได้ว่าห่วงใยอยากให้เขาสุขภาพดี แต่ตอนนี้ใช่แน่หรือ? ผู้ชายคนนี้ยังเป็นคนดี หรือดีไม่พอเสียแล้ว..

ชีวิตจริงอาจมีความซับซ้อนกว่าตัวอย่างที่ยกไป เพราะเราไม่อาจตัดสินใจได้เลยว่า “แบบไหนดีกับเราจริง” หรือสามารถถูกสังคม สิ่งแวดล้อมเท่าให้เรา ไขว้เขวได้ นิสัยใจคอ ทัศนคติ ความคิดยังไมีอีกหลายสิ่งที่หากคบกันไม่นานพอยากที่จะมองเห็น แล้วเป็นไปได้ด้วยว่า เราอาจทั้ง “เปลี่ยนไป” หรือ “ปรับตัว” ใหม่ไปในทางที่คิดว่า “ดี” สรุปง่าย ๆ “ดีวันนี้ อาจไม่ดีวันหน้า” ก็ได้นะ… สล็อต pg

รักดี ๆ ก็ควรอยู่กับคนดี ๆ

มีเรื่องหนึ่งซึ่งมักจะพูดกันว่า “ชอบคนดี แต่รักคนเลว” ถ้าเป็นแบบนี้จริง คุณว่ามีโอกาสที่จะเจอรักดีไหมครับ? ว่ากันตามจริงมันคงยาก ที่จริงเราไม่ได้ชอบคนเลวกันหรอก ทว่าเราทุกคนล้วนมีข้อบกพร่อง และลึก ๆ เรารู้แก่ใจ ถ้าเจอใครที่เขาดูแล้วว่า “ดีมาก” มาคบกับเรา ลึก ๆ เราจะแอบคิดว่ามันไม่เหมาะสม เพราะเขานั้นเข้าข่าย “ดีเกินไป” สำหรับเรา แต่ดีเกินไปตั้งแต่แรก กับคบไปเพิ่งมาบอกว่า “ดีเกินไป” อันนี้คนละกรณี เพราะที่จริงใคร ๆ ก็อยากได้คนดี แต่คนดีก็ดังที่บอกดีคนเรามันไม่เท่ากัน..

ความเหมาะสมก็ควรเป็นไปในความเหมาะสม เราไม่ได้ดีพร้อม (ความจริงเขาก็น่าจะเช่นกัน) แต่ (มีแต่อีกนั่นแหละ) ว่า หลายคน “กดตัวเอง” มากเกินไป พอลึก ๆ ในจิตใจมองว่าตนเป็นคนไม่ดี อาจมองเข้าขั้นว่าเราเลว หรือต่ำต้อย จิตสำนึกจึงปรับไปว่าก็ควรได้คนเลว คนไม่ดีเหมาะสมกัน ซึ่งจิตใต้สำนึกเป็นเรื่องยากจะรู้ตัว และกลายเป็นว่าทำร้ายตัวเองทางอ้อม ด้วยการเลือกคนไม่ดี และคิดว่าเขาคนนี้เหมาะสมกับเราแล้ว



ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-06-22 07:52:48


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล