จานดาวเทียม, ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม article

ดาวเทียม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด จำแนกตามแนวโคจรที่มันโคจรอยู่ดังนี้

  1. ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรทั่วไป มีวงโคจรเป็นรูปวงรี มีระบาบไม่แน่นอน ตำแหน่งของตัวดาวเทียมเมื่อเทียบกับโลกก็ไม่แน่นอน มักใช้ในการสำรวจสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งทรัพยกรธรณี และงานทางด้านการทหาร
  2. ดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) เป็นดาวเทียมที่อยู่กับที่ เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร วงโคจรพิเศษนี้อาจเรียกว่า " วงโคจรค้างฟ้า " หรือ " วงโคจรคลาร์ก " เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Arthur C. Clarke ผู้ค้นพบวงโคจรนี้ 

ประเภทของดาวเทียม

ดาวเทียม คือ วัตถุที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นโดยมันสมองของมนุษย์ ซึ่งสามารถจะลอยอยู่ในอวกาศ และคจรรอบโลก หรือขับเคลื่อนไปยังจุดหมายปลายทางที่มนุษญ์ต้องการได้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ

ดาวเทียมมีมากมายหลายประเภท สามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ 11 ประเภท ดังนี้

  1. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างจุดต่อจุด
  2. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างดาวเทียม
  3. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ
  4. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์
  5. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
  6. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ
  7. ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ
  8. ดาวเทียมเพื่อการปฎิบัติในห้วงอวกาศ
  9. ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น
  10. ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง
  11. ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ 

ย่านความถี่ในการส่งสัญญาณดาวเทียม

ดาวเทียมแต่ละดวงนั้นเป็นเหมือนสถานีทวนสัญญาณ หรือที่เรียกว่า รีพีทเตอร์ (Repeater) ซึ่งติดตั้งอยู่สูงมากถึง 35,786 กิโลเมตร จึงต้องทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับ และเครื่องส่งเพื่อติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน โดยสถานีภาคพื้นดินจะส่งสัญญาณในช่วง "ขาขึ้น" ที่ความถี่หนึ่งซึ่งเรียกว่า Uplink ไปให้ดาวเทียม เมื่อดาวเทียมได้รับก็จะทำการเปลี่ยนความถี่ ที่รับได้ให้เป็นอีกความถี่หนึ่ง และส่งกลับมาให้สถานีภาคพื้นดินอื่นๆ ซึ่งสัญญาณที่ส่งลงมาจากดาวเทียมจะเรียกว่า Downlink หรือความถี่ "ขาลง" โดยสัญญาณที่ส่งลงมานี้ สามารถจะครอบคลุมพื้นผิวโลกได้ถึง 40% ของจำนวนพื้นที่โลกทั้งหมด 

* ความถี่เพื่อการสื่อสารผ่านดาวเทียม *

 

ช่องสัญญาณของดาวเทียม

ดาวเทียมทุกดวงที่ใช้อยู่นี้จะมีช่องสัญญาณซึ่งเรียกว่า ทรายสปอนเดอร์ (Transponder) ซึ่งมีหลายๆรูปแบบ เพื่อใช้กับการสื่อสารลักษณะต่างๆกัน ดาวเทียมดวงหนึ่งๆ สามารถจะมีทรายสปอนเดอร์ได้มากถึง 24 ช่อง หรืออาจจะมากกว่า เพื่อใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน โดยแต่ละช่องสามารถใช้ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ได้หนึ่งสัญญาณหรือสามารถรับ - ส่งสัญญาณโทรศัพท์พูดติดต่อพร้อมกันได้ เป็นจำนวนหลายพันคู่สาย

สัญญาณความถี่ในทุกๆ ทรานสปอนเดอร์จะมีการจัดขั้วของคลื่น (Polarization) เอาไว้ให้มีทั้งขั้วทางแนวตั้ง (Vertical) และขั้วทางแนวนอน (Horizontal)  เพื่อให้เหมือนกับการขยายช่องสัญญาณ จากย่านความถี่ที่มีจำนวนอันจำกัดให้ได้ช่องสัญญาณมากขึ้น ในการรับสัญญาณที่สถานีภาคพื้นดินนั้น สามารถแยกรับได้ด้วยตนเองว่าจะรับทางแนวตั้ง หรือแนวนอน หรือจะรับทั้ง 2 แนวก็ได้ ซึ่งดาวเทียมจำนวนมาก จะมีทรานสปอนเดอร์ที่รับ - ส่งสัญญาณทางแนวตั้ง แลแนวนอนอย่างละ 12 ทรานสปอนเดอร์ และมีความถี่ซ้อนกันอยู่ แต่จะไม่เกิดการรบกวนของสัญญาณ (Interference) กันเอง

ทรานสปอนเดอร์ของดาวเทียมจะทำงานที่ความถี่สูงกว่าความถี่ที่ใช้ในสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เนื่องจากความถี่ที่ใช้นี้ อยู่ในย่าน SHF (Super High Frequency ) จึงไม่มีผลกระทบจากสภาพของอากาศ หรือการเกิดซันสปอต (Sunspot) เท่าใดนัก ทำให้การสื่อสารด้วยดาวเทียมนี้ มีความเชื่อถือได้ตลอด 24 ชั่วโมง ความถี่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในกิจการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อส่งตรงไปยังที่พักอาศัย  ในย่านเอเซีย จะใช้ความถี่ย่านตั้งแต่ 3.7 - 4.2 GHz หรือมักจะเรียกว่า " ความถี่ย่าน C " (C-Band) และจะใช้ความถี่ที่สูงกว่า คือตั้งแต่ 10.95 - 12.75 GHz ในการส่งสัญญาณรายการโทรทัศน์ต่างๆ ลงมาสู่ที่พักอาศัยของประชาชนโดยตรง ช่วงความถี่ดังกล่าวจะเรียกว่า " ความถี่ย่าน KU-Band " 


อ่านต่อหน้า <1>, <2>, <3>,  <4> ,<5>, <6>, <7>, <8>, <9>, <10>