จานดาวเทียม
ReadyPlanet.com
dot
ติดต่อเราได้ทาง Line นะคะ ตอบทันที
dot
dot
ค้นหาข้อมูลสินค้าในเว็บไซด์

dot
dot
รับติดตั้งจานดาวเทียม (Satellite)
dot
bulletจานดาวเทียม ติดตั้งหลายจุด
bulletจานดาวเทียม พร้อมติดตั้ง
bulletจานดาวเทียมปิคนิค
dot
รับติดตั้งเสาดิจิตอลทีวี (Digital TV)
dot
bulletเสาดิจิตอลทีวี ระบบทีวีรวม
bulletติิดตั้งดิจิตอลทีวี บ้านพักอาศัย
bulletอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวี
bulletเสาอากาศทีวี / Antenna
dot
รับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
dot
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 10 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 14 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 20 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 24 CH
bulletชุดงานระบบทีวีรวม MBOX 28 CH
bulletรับติดตั้งระบบทีวีรวม (MATV)
bulletชุดโปรโมชั่นงานระบบทีวีรวม
bulletชุดงานระบบ GMM Z MATV
dot
ชุดกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมติดตั้ง
dot
bulletกล้องวงจรปิด KENPRO
dot
ติดตั้งสัญญาณกันขโมย ALARM
dot
bulletสัญญาณกันขโมย CHUANGO
bulletสัญญาณกันขโมย FUJIKO
dot
อุปกรณ์ไม้กั้น
dot
bulletไม้กั้นทางเข้า ออก อัตโนมัติ
bulletไม้กั้นทาง อัตโนมัติ HV-BR04


รับติดตั้งเสาอากาศทีวี ดิจิตอล
รับติดตั้งจานดาวเทียม
ตัวอย่างผลงานติดตั้งระบบทีวีรวม,ระบบ MATV, ระบบ Digital TV
ตัวอย่างผงงานติดตั้งกล้องวงจรปิด
ชุดกล้องวงจรปิด Hiview HD TVI
กล้องวงจรปิด Kenpro HD TVI
ประกันของหายจ่ายจริง
รับประกันนาน 3 ปี
รับติดตั้งสัญญาณกันขโมย CHUANGO, Fujiko, Hiview
บริการติดตั้งระบบควบคุมประตู และบันทึกเวลาการทำงาน


ความเป็นมาเบื้องต้นของระบบดาวเทียม article

การสื่อสารดาวเทียมนับว่าเป็นวิธีการในการส่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่นิยมกันมาก ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้อย่างก้วางขวาง และรวดเร็ว เป็นการสื่อสารที่มีวิวัฒนาการมาจากการสื่อสารแบบไมโคเวฟ และมีผู้ที่เขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน และต่อมาก็สามารถทำขึ้นได้จริง ๆ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มาจนมีเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สูงมากขึ้น ในช่วงแรกๆ ดาวเทียมได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร และได้พัฒนามาใช้ทางด้านการพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยกรธรณี และการสื่อสาร ซึ่งจะกล่าวถึงในที่นี้คือ " ดาวเทียมสื่อสาร " ที่ใช้ในกิจการระบบโทรทัศน์ (DTH: DIRECT TO HOME)  ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไปครั้งแรกเมื่อปี 2508 โดยยองค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION) หรือเรียกย่อว่า INTELSAT หลังจากนั้น INTELSAT ก็ได้ทำการส่งดาวเทียมในปีต่างๆ ต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2536 ประเทศไทยเราก็มีโครงการสร้างดาวเทียมของตนเองขึ้น และเรามีดาวเทียมมาใช้ภายในประเทศอย่างแท้จริงเมื่อปี 2538 ในนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันว่า " ไทยคม " (THAICOM)

ผู้ริเริ่มให้แนวคิดการสื่อสารดาวเทียม
" อาเธอร์ ซี คลาร์ก " (ARTHUR C. CLARKE) เป็นนักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาได้สร้างจินตนาการของการสื่อสารดาวเทียมให้เราได้รู้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 หรือตรงกับ พ.ศ. 2488 โดยเขียนบทความเรื่อง " EXTRA TERRESTRIAL RELAYS" ในนิตยสาร "WIRELESS WORLD" ฉบับเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1945 ซึ่งในบทความได้กล่าวถึงว่า " ถ้ามนุษย์ชาติเรานำเอาสถานีทวนสัญญาณขึ้นไปลอยในอวกาศ เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณข่าวสารต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่ง ในรูปแบบของภาคพื้นดินสู่อวกาศ และจากอวกาศกลับเข้ามาสู่ภาคพื้นดินอีกครั้งหนึ่ง โดยเรียกสถานีทวนสัญญาณนี้ว่า " ดาวเทียม "

โดยดาวเทียมนั้นจะลอยอยู่ในอวกาศ โคจรรอบโลก ในลักษณะการโคจรเป็นแบบวงกลม ที่เรียกว่า " Geostationary Orbit " ซึ่งดาวเทียมจะลอยอยู่เหนื่อเส้นศูนย์สูตร ที่ระดับความสูงประมาณ 35,786 กิโลเมตร วัดจากพื้นโลก ซึ่งวงโคจรนี้จะต้องทำให้ดาวเทียมนั้น โคจรด้วยความเร็วเท่ากับที่โลกนั้นหมุนรอบตัวเอง เท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือหนึ่งรอบพอดี ดังนั้นเมื่อเรามองไปยังดาวเทียม จึงทำให้เป็นภาพลวงตาซึ่งมองเห็นว่า ดาวเทียมนั้ยลอยอยู่กับที่ แต่จริงแล้วมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา

แนวคิดนี้เองที่ทำให้ส่งสัญญาณรายการโทรทัศฯและวิทยุได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง แต่มีการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำเพราะไม่จำเป็นต้องสร้างสถานีทวนสัญญาน (Repeater) มากเหมือนการสื่อสารภาคพื้นดินอื้นๆ ซึ่งทำให้สามารถส่งสัญญาณมายังลูกค้าโดยตรงอย่างที่เรียกกันว่า DTH (Direct To Home )

นอกจากนี้นายอาเธอร์ ซี. คลาค ยังให้แนวคิดไว้ว่า โลกจะทำการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยทั่วโลกได้นั้นจำเป็นต้องมีการนำเอาสถานีทวนสัญญาณที่เรียกว่าดาวเทียม ไปลอยอยู่ในอวกาศเหนือมหาสมุทรทั้งสามมหาสมุทรหลักๆ คือ มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทร แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งดาวเทียมทั้ง 3 จุดนี้ จะต้องลอยและโคจรอยู่ในวงโคจรเหนือเส้นศุนย์สูตร ที่มีชื่อเรียกตามสัญญานามว่า Clarke Orbit หรือเรียกเป็นไทยว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า "

ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ประเทศสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) เป็นชาติแรกที่ส่งดาวเทียมชื่อว่า " สปุตนิค 1" (Sputnik 1) ไปโคจรในอวกาศในระดับต่ำ แล้วส่งข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นและอุณภูมิของบรรยากาศชั้นสูงกลับมาสู่โลก ด้วยความถี่ 20.005 MHz และ 40.005 MHz ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีทางดาวอวกาศ และดาวเทียมของโลกทีเดียว

มาถึงในปี พ.ศ. 2505 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมชื่อว่า " เทลสตาร์ 1" (Telstar 1) ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นวงรี แต่ยังไม่อยู่ในวงโคจรที่เรียกว่า Geostationary โดยใช้การควบคุมการโคจรจากสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนโลก ดาวเทียมดวงนี้ถือว่าเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ใช้ในการสื่อสารอย่างแท้จริง และใช้ส่งรายการโทรทัศน์รวมลงม่ด้วย ต่อมาอีก 3 ปี คือปี พ.ศ. 2508 ได้มีการส่งดาวเทียมที่ชื่อว่า " เออร์ลี่เบริร์ด " (Early Bird) ขึ้นไปโครจรในวงโคจร Geostationary ซึ่งถือว่าเป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรแบบค้างฟ้า และใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นดาวแรกอย่างแท้จริง โดยมีช่องสัญญาณการถ่ายทอด สัญญาณเกี่ยวกับโทรทัศน์, เทเล็กซ์, ข่าวสารต่างๆ รวมทั้งรายการโทรทัศน์ ที่รับมาจากด้านหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านดาวเทียมเพื่อส่งไปส่วนอื่นๆ ของประเทศ

หลังจากที่ดาวเทียมเออร์ลี่เบิร์ด ประสบความสำเร็จแล้ว องค์การดาวเทียมเพื่อการสื่อสารโทรคมระหว่างประเทศ ( INTELSAT : International Telecommunications Satellite Organization ) ก็ได้ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโจรอีกหลายดวง ภายใต้ชื่อของอินเทลแซท (INTELSAT) โดยมีหมายเลขเรียงลำดับก่อนหลังกันไป เมื่อรวมกับดาวเทียมของบริษัทอื่นๆ ที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกในปัจจุบัน จะมีจำนวนประมาณมากกว่า 150 ดวง ( ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.lyngsat.com ) โดยโครจรอยู่ในวงโคจร Geostationary มีใช้ทั้งงานการให้บริการภายในประเทศ และระหว่างประเทศรวมกันไป

 


อ่านต่อหน้า <1>, <2>, <3>,  <4> ,<5>, <6>, <7>, <8>, <9>, <10>